ประวัติโดยย่อ โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 บนที่ดินวัดโพธิ์ประสิทธิ์ ซึ่งเป็นวัดร้างไม่มีศาสนสถานแล้ว เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 ตามหลักสูตรของกระทรวง ศึกษาธิการ ปี พ.ศ. 2483 ได้รับงบประมาณทางราชการมาสร้างอาคารเรียน ตามแบบ ป.1 ฉ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 ต่อมาเกิดฝนตกหนักและลมแรงทำให้หลังคาพังลงมา ทางโรงเรียนจึงทำการขออนุญาตรื้อถอน คณะครูและกรรมการได้ก่อสร้างอาคารเรียนใหม่และได้ย้ายมาเรียนที่อาคารหลังใหม่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ปัจจุบันเปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้บริหารโรงเรียนตั้งแต่เริ่มจัดตั้งโรงเรียน จนถึงปัจจุบัน
- นายสาย พันธุประ
- นายฟู เมืองนิล
- นายจำรอง อัมพสุวรรณ์
- นายถนอม สิงห์ดี
- นายไกร เสืออินทร์
- นายอนันต์ ครุทธกะ (1 พ.ย. 34 – 30 ก.ย. 43)
- นางสาวพิสมัย อินทวาส (9 ต.ค. 43 – 24 ธ.ค. 51)
- นางสาวจำเนียร นุ้ยปรี (7 ม.ค. 52 – 31 มี.ค. 53)
- นายนิกร ศรีทอง (5 เม.ย.53 – 15 ธ.ค. 54)
- นายสมบูรณ์ โพธิรัง (24 ม.ค. 56 – 59)
- นางทองคำ รื่นอุรา (รก.ผอ. 1 ต.ค. 59 – 30 ก.ย. 61)
- นายนัตติวัฒน์ ศรีบุษย์ (รก.ผอ. 1 ต.ค. 61 – ปัจจุบัน)
ปัจจุบัน โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ มีพื้นที่ 11 ไร่ 2 งาน
ที่ตั้งโรงเรียน
โรงเรียนวัดโพธิ์ประสิทธิ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ บ้านบางตาเณร ตำบลหาดอาษา อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท ระยะทางห่างจากอำเภอสรรพยา 7 กิโลเมตร และห่างจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท 30 กิโลเมตร
สภาพชุมชนโดยรวม
3.1 สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียน
เขตบริการของโรงเรียน มี 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 2 มีประชากร ชาย 436 คน หญิง 538 คน หมู่ 3
มีประชากรชาย 402 คน หญิง 411 คน รวม 2 หมู่บ้านมีประชากร 1,787 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ เทศบาลตำบลหาดอาษา หมู่บ้าน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตึก อาชีพหลักของชุมชน คือ เกษตรกรรม เนื่องจากลักษณะสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่ม ติดแม่น้ำเจ้าพระยา เมื่อถึงฤดูฝน น้ำจะท่วมเกือบทุกปี ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 100 นับถือศาสนาพุทธ รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 15,000 บาท จํานวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5 คน ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ประเพณีลอยกระทง
3.2 โอกาสและข้อจํากัดของโรงเรียน โรงเรียนอยู่ใกล้กับแหล่งเรียนรู้ เช่น ศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้าน
กลุ่มแม่บ้าน ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลหาดอาษา ชุมชนสนับสนุนและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ส่วนข้อจำกัดคือ มีโรงเรียนที่เปิดสอนในระดับเดียวกันอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกันมาก และผู้ปกครองบางส่วนนิยมนำบุตรหลานเข้าไปเรียนโรงเรียนในเมืองทำให้โรงเรียนมีนักเรียนมาเรียนจำนวนน้อย